เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

เศรษฐกิจ พอเพียงความหมายกว้างกว่าทฤษฎีใหม่ โดยที่เศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบแนวคิดที่ชี้บอกหลักการ และแนวทางปฏิบัติของทฤษฎีใหม่ ในขณะที่ แนวพระราชดำริเกี่ยวกับทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่ง เป็นแนวทางการพัฒนาการเกษตรอย่างเป็นขั้นตอนนั้น เป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติ ที่เป็นรูปธรรม เฉพาะในพื้นที่ที่เหมาะสม ทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ อาจเปรียบเทียบกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบพื้นฐาน กับ แบบก้าวหน้า ได้ดังนี้ความพอเพียงในระดับบุคคล และครอบครัว โดยเฉพาะเกษตรกรเป็นเศรษฐกิจพอเพียงแบบพื้นฐาน เทียบได้กับทฤษฎีใหม่

" เกษตรทฤษฏีใหม่ คืออะไร "
เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเกี่ยวกับการจัดพื้นที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยอย่างหลากหลายเหมาะสม และมีชีวิตอย่างยั่งยืนโดยมีแบ่งพื้นที่เป็นส่วนได้แก่ พื้นที่น้ำ พื้นที่ดินเพื่อเป็นที่นาปลูกข้าว พื้นที่ดิน สำหรับปลูกพืช ไร่นานาพันธุ์ และที่สำหรับอยู่อาศัยและเลี้ยงสัตว์ ในอัตราส่วน 30:30:30:10 เป็นหลักการในการบริหาร การจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
" การทำเกษตรทฤษฏีใหม่ ทำแล้วได้อะไร "
ประหยัด
ประชาชนพออยู่พอกินในระดับประหยัด
เลี้ยงตนเองได้ ไม่อดอยากมีอาหารบริโภคอย่างพอเพียง

พอใช้
ในหน้าแล้งก็สามารถนำน้ำที่เก็บกักไว้ในสระมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย
เช่น ถั่วต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องอาศัยชลประทาน

มีรายได้
ในปีที่ฝนตกตามฤดูกาลโดยมีน้ำดีตลอดปี
ทฤษฎีใหม่นี้ก็สามารถสร้างรายได้ให้ร่ำรวยขึ้นได้

ช่วยเหลือตนเอง
ในกรณีที่เกิดอุทกภัย ก็สามารถฟื้นตัว และช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง
โดยราชการไม่ต้องช่วยเหลือมากนัก

" เกษตรทฤษฏีใหม่มีขั้นตอนทำอย่างไร "
ให้แบ่งพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน ตามอัตราส่วน 30 : 30 : 30 : 10 ดังนี้

แหล่งน้ำ 30%
ให้ขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อให้มีน้ำใช้สม่ำเสมอตลอดปี โดยเก็บกักน้ำ
ฝนในฤดูฝน และใช้เสริมการปลูกพืชในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วง
ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์และพืชน้ำต่างๆ เช่น ผักบุ้ง ผักกระเฉด โสน ฯลฯ


นาข้าว 30%
ให้ปลูกข้าวในฤดูฝน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครัวเรือนให้
เพียงพอ ตลอดปีโดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพง เป็นการลดค่าใช้จ่าย
และสามารถพึ่งตนเองได้
พืชสวนพืชไร่ 30%
ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก พืชสมุนไพร ฯลฯ อย่างผสม
ผสานกันและหลากหลายในพื้นที่เดียวกัน เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน
หากเหลือจาก การบริโภคก็นำไปขายได้


ที่อยู่อาศัย 10%
ใช้เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง คันดิน โรงเรือนและสิ่ง
ก่อสร้าง อื่นๆ รวมทั้งคอกเลี้ยงสัตว์ เรือนเพาะชำ ฉางเก็บผลิตผลการเกษตร ฯลฯ
" เกษตรทฤษฏีใหม่ตามแนวพระราชดำรินี้ช่วยให้เกษตรกรไทย "
มีรายได้ที่พอเพียง มั่นคง มีความสุข
เครดิต : นางสาวรสริน สุขสมบัติ ลิงค์ข้อมูล