ข้อมูลเรื่องของโค

- โคถูกเลี้ยงเป็นปศุสัตว์เพื่อเอาเนื้อ นมและผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ รวมถึงเป็นสัตว์ลากเทียม ผลิตภัณฑ์อื่นจากโคมีหนังและมูลเพื่อใช้เป็นปุ๋ยคอกหรือเชื้อเพลิง ดังนั้นในการเลี้ยงโคต้องมีความเอาใจใส่ดูแล รักโค และมีความรู้เรื่องโคพอสมควร
- ในอดีตการเลี้ยงโคส่วนใหญ่จะเป็นอาชีพเสริมจากการทำไร่นา และเลี้ยงแบบปล่อยเลี้ยงตามทุ่งนา หรือที่สาธารณะต่างๆ คือตอนเช้านำออกไปเลี้ยง ใช้เชือกผูกที่โพร่งจมูก กับเสาหลักไม้ที่ตอกเข้ากับพื้นดิน ตอนเที่ยงนำไปกินน้ำแล้วย้ายสถานที่ ที่ใช้เลี้ยง ตอนเย็นนำกลับเข้าคอก ส่วนคอกนั้นส่วนใหญ่จะเป็นใต้ทุนบ้าน
- ในปัจจุบันการเลี้ยงโค อาศัยพืชอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ ส่งผลให้การเจริญเติบโตหรือการตอบสนองของโคในด้านต่างๆ มีประสิทธิภาพต่ำเนื่องจากขาดแคลนพืชอาหารในช่วงฤดูแล้ง หรือถ้าเป็นฤดูการทำนา ก็จะมีสารเคมีในพืชสูง ทำให้โคได้รับอาหารและโภชนาการไม่เพียงพอต่อความต้องการส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ การให้อาหารหยาบร่วมกับการเสริมอาหารข้น เป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้โคได้รับโภชนะโดยเฉพาะโปรตีนและพลังงานที่เพียพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น การเลี้ยงโคมีหลากหลายรูปแบบ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบของธุรกิจที่เกษตรกรเลือกตามต้นทุน และสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นนั้นๆ อาทิเช่น การเลี้ยงวัวนม การเลี้ยงวัวขุนหรือโคขุน การเลี้ยงวัวพื้นบ้าน ในที่นี้เราจะพูดถึงการเลี้ยงโคพื้นบ้านสำหรับเกษตรกรรายย่อย
ลำดับขั้นตอนในการเลี้ยงโคพื้นเมือง
1.1 ผลิตลูกโคขาย เป็นการเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธ์ุ เพื่อผลิตลูกขาย
1.2 การเลี้ยงขุน เป็นการเลี้ยงขุนโค ผลิตเนื้อมีคุณภาพ
1.3 ผลิตลูกและเลี้ยงขุนทำสองอย่างควบคู่กัน
2.1 เลี้ยงแบบหลังบ้าน ผสมผสานในระบบไร่นา
2.2 เลี้ยงในระบบฟาร์มขนาดเล็ก
      อาหารหลักของโค คือ อาหารหยาบ เช่น หญ้าสด หญ้ามัก หญ้าแห้ง ฟางข้าว ฯลฯ และอาหารข้นเป็นอาหารเสริมเพื่อให้โคมีสุขภาพสมบูรณ์ ถ้าเลี้ยงโคพื้นบ้านในที่สาธารณะ ซึ่งในปัจจุบันมีที่สำหรับเลี้ยงน้อย โคจะได้อาหารไม่เพียงพอ ควรจัดเตรียมอาหารให้โคในที่ที่ของเราเอง โดย
1. ปลูกสร้างแปลงหญ้า2. จัดเตรียมอาหารหยาบที่มีในพื้นที่ เช่น ฟางข้าว หรืออาหารหยาบอื่นๆ
3. จัดเตรียมอาหารข้นเพื่อให้เสริมบ้างโดยเฉพาะช่วงฤดูแล้ง
4. จัดเตรียมอาหารแร่ธาตุนี้ก็ถือว่าสำคัญ โคต้องการปริมาณน้อยแต่ต้องมีให้เลือกกินทุกวัน
      คอกโคมีความสำคัญ ลักษณะและขนาด ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับสถานที่และจำนวนโคที่เลี้ยง แต่มีหลักเกณฑ์ว่า
– คอกต้องโปร่ง– ระบายอากาศดี
– ระบายน้ำดี
– มีอ่างน้ำ รางอาหาร ให้โคกินสะดวก
* อาจใช้วัสดุที่มี หรือหาง่ายในท้องถิ่น มาประยุกดัดแปลง
พันธุ์โคพื้นเมือง
โคพื้นเมืองไทยสามารถจัดแบ่งได้เป็น 4 สายพันธุ์ ตามลักษณะรูปร่างภานนอก ภูมิประภาคและวัตถุประสงค์การเลือก
1. โคพื้นเมืองภาคเหนือ หรือโคขาวลำพูน มีลักษณะ คือ
- เนื้อเขา : สีน้ำตาลส้ม เนื้อละเอียด
- เนื้อกีบ : สีน้ำตาลส้ม
- ขอบตา เนื้อจมูก : สีชมพูไม่มีจุดด่างขาว
- ขนพู่หาง และขนตา : สีขาว
- ขนลำตัว : สีขาวเกรียน
- สีนัยน์ตา : น้ำตาลดำ
- สีหนัง : ชมพูส้ม
- น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ :
- เพศผู้ 350-450 กก.
- เพศเมีย 300-350 กก.
2. โคพื้นเมืองภาคอีสาน มีลักษณะ คือ
- เนื้อเขา : สีดำ หรือน้ำตาลดำ
- เนื้อกีบ : สีดำ หรือน้ำตาลแกมดำ
- ขอบตา เนื้อจมูก : สีดำ น้ำตาลหรือน้ำตาลแกมดำ
- ขนพู่หาง และขนตา : สีดำ หรือน้ำตาลดำ
- ขนลำตัว : สีน้ำตาล น้ำตาลแดงดำ ขนสั้นเกรียน
- สีนัยน์ตา : สีดำ หรือน้ำตาล
- สีหนัง : ชมพูส้ม
- น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ :
- เพศผู้ 350-400 กก.
- เพศเมีย 200-250 กก.
3. โคพื้นเมืองภาคกลาง(โคลาน) มีลักษณะ คือ
- เนื้อเขา และเนื้อกีบ: สีดำ หรือน้ำตาลดำ
- ขอบตา เนื้อจมูก : สีดำ น้ำตาล หรือน้ำตาลดำ
- ขนพู่หาง: สีดำ หรือน้ำตาล
- ขนลำตัว: สีน้ำตาล น้ำตาลแดง ขนสั้นเกรียน
- ขน ตา และหนัง: สีดำ หรือน้ำตาล
- สีนัยน์ตา : สีดำ หรือน้ำตาล
- สีหนัง : ชมพูส้ม
- น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ :
- เพศผู้ 300-350 กก.
- เพศเมืย 200-260 กก.
โคพื้นเมืองภาคใต้(โคชน)มีลักษณะ คือ
- เนื้อเขา: สีดำ หรือน้ำตาลดำ
- เนื้อกีบ: สีดำ หรือน้ำตาล
- ขอบตา เนื้อจมูก: สีดำ น้ำตาลหรือน้ำตาลดำ
- ขนพู่หาง: สีดำ หรือน้ำตาล
- ขนลำตัว: สีน้ำตาล น้ำตาลแดง แดง ดำ ขนสั้นเกรียน/li>
- ขน ตา และหนัง: สีดำ หรือน้ำตาล
- สีหนัง : ชมพูส้ม
- น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ :
- เพศผู้ 350-400 กก.
- เพศเมืย 230-280 กก.
ลำดับขั้นตอนในการเลี้ยงโคพื้นเมือง
1.1 ผลิตลูกโคขาย เป็นการเลี้ยงพ่อพันธุ์-แม่พันธ์ุ เพื่อผลิตลูกขาย
1.2 การเลี้ยงขุน เป็นการเลี้ยงขุนโค ผลิตเนื้อมีคุณภาพ
1.3 ผลิตลูกและเลี้ยงขุนทำสองอย่างควบคู่กัน
2.1 เลี้ยงแบบหลังบ้าน ผสมผสานในระบบไร่นา
2.2 เลี้ยงในระบบฟาร์มขนาดเล็ก
      อาหารหลักของโค คือ อาหารหยาบ เช่น หญ้าสด หญ้ามัก หญ้าแห้ง ฟางข้าว ฯลฯ และอาหารข้นเป็นอาหารเสริมเพื่อให้โคมีสุขภาพสมบูรณ์ ถ้าเลี้ยงโคพื้นบ้านในที่สาธารณะ ซึ่งในปัจจุบันมีที่สำหรับเลี้ยงน้อย โคจะได้อาหารไม่เพียงพอ ควรจัดเตรียมอาหารให้โคในที่ที่ของเราเอง โดย
1. ปลูกสร้างแปลงหญ้า2. จัดเตรียมอาหารหยาบที่มีในพื้นที่ เช่น ฟางข้าว หรืออาหารหยาบอื่นๆ
3. จัดเตรียมอาหารข้นเพื่อให้เสริมบ้างโดยเฉพาะช่วงฤดูแล้ง
4. จัดเตรียมอาหารแร่ธาตุนี้ก็ถือว่าสำคัญ โคต้องการปริมาณน้อยแต่ต้องมีให้เลือกกินทุกวัน
      คอกโคมีความสำคัญ ลักษณะและขนาด ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว ขึ้นอยู่กับสถานที่และจำนวนโคที่เลี้ยง แต่มีหลักเกณฑ์ว่า
- คอกต้องโปร่ง
- ระบายอากาศดี
- ระบายน้ำดี
- มีอ่างน้ำ รางอาหาร ให้โคกินสะดวก
* อาจใช้วัสดุที่มี หรือหาง่ายในท้องถิ่น มาประยุกดัดแปลง
การเลือกซื้อพันธุ์โคพื้นเมือง
การประมาณอายุของโค
      การประมาณอายุของโคประมาณได้จากฟันหน้าคูล่าง 4 คู่ ซึ่งจะขึ้นตามจำนวนอายุ ฟันกรามก็สามรถนับได้แต่ไม่นิยมเพราะมองเห็นได้ยาก ฟันโคมี 2 ชุดเหมือนคน ฟันน้ำนมจะมีขนาดเล็ก เนื้อไม่แน่น ในช่วงที่คลอดใหม่ลูกโคจะมีฟันน้ำนม 1 คู่โพล่มาเล็กน้อย และภานใน 1 เดือน จะมีฟันน้ำนมครบ 4 คู่ ซึ่งจะอยู่จนโคอายุครบ 2 ปี ฟันแท้ จะมีขนาดใหญ่ เนื้อฟันแน่
การประมาณจำนวนลูกโค
      การประมาณจำนวนลูกโดยรอยคอดที่เขาของแม่โค ซึ่งรอยดังกล่าวเกิดจากแคลเซียม และฟอสฟอรัสถูกนำมาใช้ในการสร้างน้ำนม รอยคอดนั้นยังสามารถระบุความถี่ห่างในการให้ลูกของแม่โค ถ้าระยะห่างของรอยสม่ำเสมอกันแสดงว่าแม่โคให้ลูกสม่ำเสมอ แต่ถ้ารอยคอดห่างกันมาก แสดงว่าบางปีให้ลูก บางปีเว้น
      เนื่องจากเกษตรกรไม่มีเครื่องชั่งในการชั่งน้ำหนักโค จึงอาศัยการประมาณน้ำหนักจากการวัดความยาวรอบอก โดยต้องให้โคยืนนิ่งบนพื้นราบ ขาตรง นำความยาวรอบอกที่วัดได้มาเทียบน้ำหนักตามตารางด้านล่าง
ด้านหน้า
- กล้ามเนื้อที่ไหล่และโคนขาหน้านูนเด่น
- กระดูหน้าแข่งมีขนาดใหญ่ บ่งชี้ถึงขนาดของกระดูก
- เสือร้องให้ไม่ใหญ่ และเหนียงคอบาง
ด้านหลัง
- กล้ามเนื้อส่วนบั้นท้ายหนาและลึก
- ขาทั้งสองข้างใหญ่และอยู่ในตำแหน่งที่ห่างกัน แต่ตั้งตรง
- ซอกระหว่างขาหลังทั้งสองไม่เต็มแสดงว่ามีเนื้อ ทำให้ต้องยืนห่างกัน
ด้านบน
- กล้ามเนื้อที่ไหล่นูน ทำให้เห็นส่วนอกเว้าเล็กน้อย
- การกางของซี่โครงส่วนหน้าน้อย และค่อยๆขยายใหญ่ไปยังส่วนท้าย
- ระยะห่างระหว่างกระดูกเชิงกรานและก้นกบมาก
- กระดูกก้นกบควรอยู่สูงและห่างจากก้นมากๆ
ด้านข้าง
- เสือร้องให้ไม่นูนใหญ่
- กล้ามเนื้อโคนขานูนเด่น กระดูกหน้าแข้งยาวใหญ่
- ส่วนซอกขาหลังเว้าขึ้นเล็กน้อย
- ขาตรงตั้งฉากกับพื้นทั้งขาหน้าขาหลัง
- แนวสันหลังตรงและยาว หมายถึงลำตัวยาวแต่ไม่ลึกนัก
* กรณีเลือกซื้อโคเพศผู้ ให้พิจารณาการว่าง ของขนาดของลูกอัณฑะด้วย คือลูกอันฑะต้องมีขนาดใหญ่สองข้างเท่ากัน ว่างในตำแหน้งพอดี ไม่หดสั้นหรือหย่อนยานเกินไป
คอกโคพื้นเมือง
      คอกควรสร้างบนที่สูง น้ำท่วมไม่ถึง ไม่มีน้ำขัง ถ้าเป็นไปได้ควรให้ความยาวอยู่ตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก ขนาดคอกขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนโค มีหลักการคำนวณง่ายๆคือ พื้นที่ส่วนที่เป็นหลังคา = ส่วนกว้างที่สุดของท้องโค x ความยาวจากปาก- บั้นท้าย x 2 พื้นที่ส่วนไม่มีหลังคา = 2เท่าของพื้นที่มีหลังคา
แบบคอกโคสำหรับเกษตรรายย่อยเน้นวัสดุอุปกรณ์ที่มีและหาง่ายในท้องถิ่น
สถานที่ : ที่ดอนระบายน้ำดี ความยาวคอกอยู่ในทิศตะวันออก-ตะวันตก
พื้นคอก : ใต้หลังคาเป็นคอนกรีต หรือดินอัดแน่นลาดเท พื้นคอกมีหลังคาควรรองพื้นด้วยแกลบ
หลังคา : อาจทำจากสังกะสี จาก หรือแฝก
เสาคอก : ไม้เนื้อแข็ง ไม่ยูคาลิปตัส คอนกรีต
รั้วกั้น : ไม่เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ ไม่ยูคาลิปตัส สูง 130-150 ซม. รั้วด้านนอก 4 แนว รั้วแบ่งคอก 3 แนว
รางอาหาร : คอนกรีต รางไม้ อ่างยาง
อาหารสำหรับโค
      อาหารที่จำเป็นสำหรับโคแบ่งเป็น 4 หมู่ คือ แป้งกับน้ำตาล โปรตีน ไขมัน และน้ำ โคจะสมบูรณ์แข็งแรงก็ต่อเมื่อได้อาหารครบตามที่ร่างกายต้องการเหมือนคนเรา
ประเภทของอาหารโคแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ อาหารหยาบ อาหารข้น และแร่ธาตุ
อาหารหยาบ
      อาหารที่มีเยื่อใยสูง เช่น หญ้า ถ้่ว เป็นต้น อาหารหยาบเป็นอาหารหลักของโคมี 3 แบบ ดังนี้
- อาหารหยาบสด เช่น หญ้าสด ถั่วอาหารสด
- อาหารหยาบหมัก เช่น หญ้าหมัก ข้าวโพดหมัก ข้าวฟ่างหมัก
- อาหารหยาบแห้ง เช่น หญ้าแห้ง ถั่วอาหารแห้ง ฟางข้าว
อาหารข้น
      อาหารที่มีความเข้มขนของอาหารสูงโดยเฉพาะโปรตีน เป็นอาหารเสริมที่ให้แก่โคเพื่อโคจะได้รับสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาหารข้นได้จากการนำวัตถุดิบอาหารสัตว์ต่างๆ เช่น กากถั่ว มันเส้น รำละเอียด ข้าวโพดป่น ใบกระถินป่น เป็นต้น มาคลุกเคล้าผสมให้โคกิน การได้มาของอาหารข้นควรวิเคราะห์สูตรอย่างเหมาะสม
แร่ธาตุ
      โดยปกติแล้วโคจะได้รับแร่ธาตจากอาหารหยาบและอาหารข้น แต่กระนั้นยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โคต้องการแร่ธาตุน้อย แต่ต้องการสม่ำเสมอ แร่ธาตุมี 2 แบบคือ
- แร่ธาตุก้อน ซึ่งทางบริษัทเราก็มีจำหน่ายรวมถึงแร่ธาตุอีกหลายชนิดถ้าเกษตรกรต้องการ
- แร่ธาตุผง เป็นการนำแร่ธาตุหลายชนิดมาผสมกันใส่รางให้โคเลียกิน เช่น ไดแคลเซียม กระดูกป่น เกลือ หรือพรีมิกซ์ เป็นต้น