ข้อมูลเรื่องข้าว


      ข้าว เป็นพืชเศรฐกิจของไทย เพราะข้าวเป็นอาหารหลัก คนไทยกลุ่มใหญ่มีอาชีพทำนาการปลูกข้าวในไทยสามรถปลูกได้ทุกภูมิภาค แต่จะสามรถปลูกได้ผลผลิตมากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ อาทิเช่น สภาพภูมิอากาศ สภาพดิน พันธุ์ข้าว เป็นต้น

      การทำนา หมายถึง การปลูกข้าวและการดูแลรักษาต้นข้าวในนา ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว การปลูกข้าวในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามสภาพของดินฟ้าอากาศ และสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ ในแหล่งที่ต้องอาศัยน้ำจากฝนเพียงอย่างเดียว ก็ต้องกะระยะเวลาการปลูกข้าวให้เหมาะสมกับช่วงที่มีฝนตกสม่ำเสมอและเก็บเกี่ยวในช่วงที่ฤดูฝนหมดพอดี ส่วนในแหล่งที่มีน้ำเพียงพอก็จะสามารถทำนาได้ตลอดปี ในแต่ล่ะปีมี 2 ครั้ง คือ นาปี และนาปรัง ฤดูทำนาปีในประเทศไทยปกติจะเริ่มราวเดือนพฤษภาคมถึงกรกฏาคมของทุกปี ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน ส่วนนาปรัง สามารถทำได้ตลอดปี ถ้าท้องถิ่นนั้นๆมีน้ำเพียงพอ

การทำนาในอดีต

การทำนาของชาวบ้านในอดีตจะทำแบบธรรมชาติ ปีล่ะ 1 ครั้ง ซึ่งอาศัยน้ำฝน และใช้แรงงานควายและแรงงานคนเป็นหลัก เกษตรกรส่วนใหญ่จะไม่ทำไร่ ทำเฉพาะนาพอให้ได้ข้าวเก็บไว้กิน มีการปลูกพริก แตง ฟักทอง และพืชผักอื่นๆ หลังจากฤดูทำนา

การทำนาในปัจจุบัน

      ในปัจจุบัน เกษตรกรเริ่มเกิดความดินรนในการทำมาหากินมาขึ้น จากการทำนาเพื่อได้ข้าวไว้กิน ดูเหมือนว่าจะไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตเพราะค่าใช้จ่าย ค่าครองชีพเริ่มสูงขึ้น เนื่องจากมีค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าผ่อนรถมอเตอร์ไซต์ ค่าผ่อนรถไถเดินตาม หรือรถบรรทุกปิ๊คอัพเข้ามาเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในครอบครัว เกษตรกรที่ยังทำอาชีพเกษตรอยู่เริ่มขนขวายหารายได้เพิ่มจากการทำไร่ หรือจากการออกไปรับจ้างเป็นลูกจ้างในเมืองมากขึ้น   ดังนั้นการทำนาในปัจจุบันจึงอาศัยเทคโนโลยีเครื่องทุนแรงมากกว่าแรงงานจากคนและควาย ซึ่งทำให้เกิดต้นทุนมากกว่าแต่ก่อน


การเลือกพันธุ์ข้าว



การเตรียมดิน



วิธีเพาะปลูก



การดูแลบำรุง/กำจัดศัตรูพืช



การเก็บเกี่ยว